AP88+ ขอแสดงความห่วงใย
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทาง AP88+ ขอแสดงความห่วงใยกับลูกค้าทุกท่านที่ประสบภัย ขอให้ทุกท่านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงปลอดภัยจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำเครื่องมาฉีดพ่นละอองน้ำบริเวณซากอาคาร สตง.ที่ถล่ม เพื่อลดความร้อนและฝุ่นควันจุดเกิดเหตุ หลังตรวจสอบพบสัญญาณชีพใต้ซากรวม 15 จุด เริ่มเดดไลน์ 72 ชม.ที่จะต้องช่วยเหลือผู้อยู่ใต้ซากออกมาให้ได้
แข่งกับเวลา! เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องจักรหนักเร่งขนเศษโครงสร้างตึกออก เปิดทางค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารถล่ม ในขณะที่ครอบครัวของผู้สูญหายยังคงเฝ้ารอปาฏิหาริย์
“แต่ขอย้ำว่าการค้นหาผู้รอดชีวิต เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ปล่อยเวลาให้สูญเปล่าไปไม่ได้ 1 วินาทีก็มีค่ามาก ตอนนี้มีวิศวกรเก่งๆ เข้ามาช่วยกัน หลายคน ไปจนถึงท่านนายกสภาวิศวกร ท่านก็มาอยู่หน้างานด้วย กู้ภัย กู้ชีพ เจ้าหน้าที่ ทหาร ทรัพยากรเก่งๆ อยู่กับเราแล้ว เรามีคนพร้อม เรามีงบ และเรามีเครื่องจักร แต่งานที่อยู่ตรงหน้าไม่ใช่งานง่าย ทุกฝ่ายก็ทำเต็มที่”
โลกออนไลน์แชร์วิธีเอาตัวรอด เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ทั้งในกรณีที่อยู่ในอาคาร รวมไปถึงสิ่งของที่ต้องเตรียมติดตัว
จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวในเมียนมา ลึกลงไปประมาณ 10 กม. วัดความรุนแรงได้ถึง 8.2 ริกเตอร์ เมื่อช่วงเวลาประมาณ 13.30 น. ของวานนี้ (28 มี.ค. 68) ซึ่งส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สร้างความแตกตื่นให้กับหลายคน ซึ่งต้องยอมรับว่าคนไทยไม่คุ้นชินกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว รวมไปถึงขาดความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติตัว
1. ใส่รองเท้าทันที (ที่ญี่ปุ่นจะหันรองเท้าแตะออกจากเตียง พร้อมกระโดดใส่รองเท้าแล้ววิ่ง ถ้าเท้าเป็นแผลจะวิ่งหนีไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้)
2. ใช้หลังมือคลำตามกำแพงในกรณีที่มองไม่เห็นทาง แผ่นดินไหวมักมีไฟไหม้ ควันและท่อน้ำแตกน้ำท่วมตามมาให้คลำตามกำแพงไปหาประตู ถ้า “ฝ่ามือ” เรามีแผลแล้วเลือดออกจะผลักเปิดประตูหนีไฟ ลูกบิดและสิ่งกีดขวางอื่นๆ ไม่ได้อีกเลยทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นใช้หลังมือ
3. ข้างเตียง และบนโต๊ะทำงานมีเป้เล็กๆ
– ขวดน้ำจิ๋ว
– มาม่า 2 ห่อ (อาหารแห้งที่เก็บได้นาน)
– พลาสเตอร์ยา, พารา, เกลือแร่
– รองเท้าคัทชู 1 คู่
– ผ้าเช็ดตัว 1 ผืน (กรณีติดอยู่นอกบ้านต้องนอนข้างถนน)
ประเทศที่แผ่นดินไหวบ่อย ตึกถล่ม อาจจะใช้เวลา 1-2 วันในการอพยพคนไปในที่ปลอดภัย ฉะนั้นอาหารน้ำและยาสำหรับตัวเองสำคัญมาก อย่าเป็นภาระให้ผู้อื่นและคนในครอบครัว
4. ในบ้านให้เข้าไปหลบในห้องน้ำใน shower อ่างน้ำ เอาผ้าเช็ดตัวคลุมหัว ปกป้องหัวไม่ให้แตกเด็ดขาด “ห้องน้ำ” ในการก่อสร้างเป็นที่ๆ แข็งแรงที่สุดและไม่มีสิ่งของชิ้นใหญ่ตกใส่ศีรษะได้
5. ถ้าอยู่ในห้าง จังหวะนั้นหนีไม่ทันแล้ว ช่องลิฟต์คือที่ที่แข็งแรงที่สุด กดเปิดลิฟต์ค้างไว้แล้วเข้าไปอยู่ในนั้นเวลาตึกถล่มช่องลิฟต์คือช่องอากาศเดียวที่ยังคงอยู่ (กรณีชั้นเตี้ยๆ เสี่ยงลิฟต์ตก ชั้นสูงวิ่งลงอย่างเดียวไม่วิ่งขึ้นรอ ฮ.นะคะ)
6. กรณีที่อยู่กับปู่ย่าตายายผู้สูงวัยและผู้ป่วยแล้วหนีไม่ทันให้หลบใต้โต๊ะก่อน Tohoku Jishin 2011 ที่ทำให้เกิด aftershock ในหมู่เกาะสุมาตราและกลายเป็น Tsunami ที่วิ่งเข้าชนประเทศไทย ตอนนั้นไฟเขียวไฟแดงคนญี่ปุ่นก็ยังหยุด เดินเท้ากลับบ้าน 6-8 ชั่วโมงไม่มีใครบ่น ถ้าทุกคนวิ่งไปในทางเดียวกันเราจะชนกันน้อยลง อัตราการรอดของเราจะมากขึ้น เช้าวันต่อมาทุกคนออกไปช่วยกันเก็บขยะกลับไปทำงานเหมือนเดิม จงเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น